ด้วยความที่พื้นฐานจบทางด้านคอมพิวเตอร์ กระบวณการคิด เลยออกไปในเชิงตรรกะ แบ่งย่อยงานออก แล้วหาวิธีแก้แต่ละจุดและประกอบกับ และคาดหวังว่าจะแก้ปัญหาได้เสมอ ต้องยอมรับว่าตลอดระยะเวลาในการทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์เชื่ออย่างนั้นมาตลอดว่าถ้าเราซอยปัญหาได้และแก้แต่ละจุดสุดท้ายจะแก้ปัญหาที่ใหญ่ขึ้นได้ แต่วันหนึ่งมีโอกาสได้คุยกับผู้ไหญ่ท่านหนึ่ง เลยทำให้รู้ว่า การแตกงานหรือการซอยปัญหาแล้วพยายามหารากของปัญหาเป็นแค่การช่วยให้เราป้องกันปัญหาในลักษณะเดิมๆไม่ให้เกิดขึ้นอีก แต่ไม่สามารถที่จะทำนายปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้
ท่านบอกว่า ลองคิดดูสิว่านักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะทำความเข้าใจสมองแต่ละส่วนว่ามันทำงานอย่างไร แล้วมันจะสร้างอารมณ์พฤติกรรมของเราได้อย่างไร กว่าหลายทศวรรษที่ผ่านมา คนเรายังทำความเข้าใจความซับซ้อนของมนุษย์ได้เพียงแค่ หนึ่ง เปอร์เซ็นเท่านั้น หรือแม้แต่ร่างกายของเราเอง ทุกวันนี้วงการแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของภาวะหัวใจล้มเหล่วได้
แล้ว Root Cause Analysis ไม่มีประโยชน์เลยหรือ คำตอบคือ มีประโยชน์ หากแต่ประโยชน์ของมันคือสามารถมองย้อนไปในอดึตเท่านั้น หรือมันอาจจะช่วยแก้ปัญหาที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว แต่ไม่สามารถช่วยเราคาดการณ์ว่าจะมีปัญหาอะไรใหม่ๆในอนาคตได้
คำถามที่อยากฝากให้คิดคือ เรากำลังติดกับดักของการเอาสาเหตุของปัญหาเดิม มาทำนายหรือตึกรอบว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับอนาคตของงานเรา ทีมเรา คนของเราอยู่หรือเปล่า
ไม่ค่อยจะเห็นด้วยนะครับ พอเราเจอรากของปัญหาที่ต้นตอแล้ว มันก็มักจะป้องกันปัญหาอื่นๆที่ใกล้เคียง แต่ไม่ถึงกับเหมือนปัญหาที่เราเจอได้ และเราควรจะต้องคิดต่อไปว่าระบบการทำงานของเรา มันอาจจะมีช่องโหว่อะไรไหม ที่อาจจะทำให้มีต้นตออื่นๆอีกของปัญหาที่เรายังไม่ทันพบ
การทำRCAให้เป็นประจำ จะช่วยบ่มเพาะให้เกิดนิสัยของการทำ continual improvementด้วย
🙂 ขอบคุณครับคุณนน เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าควรทำครับ แค่อยากแบ่งปันมุมมองที่เห็นว่าหลายคนเอา RCA มาเป็นบรรทัดฐานหลักในการตัดสินปัญหาในอนาคตครับ ทำให้ไม่ยืดหยุ่นในการปรับตัวให้ได้ตรงตามสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริง เหมือนเป็นการตีกรอบให้ตัวเองมากเกินไปน่ะครับ