Originally posted on Ken Schwaber's Blog: Telling It Like It Is:
Scaled Professional Scrum is based on unit of development called a Nexus. The Nexus consists of up to 10 Scrum teams, the number depending on how well the…
Originally posted on Ken Schwaber's Blog: Telling It Like It Is:
Scaled Professional Scrum is based on unit of development called a Nexus. The Nexus consists of up to 10 Scrum teams, the number depending on how well the…
วันนี้เป็นอีกอาทิตย์ที่ได้ไปโบสถ์ ส่วนหนึ่งของการไปโบสถ์คือการได้คิดถึงสิ่งดีๆที่เกิดขึ้น ทุกๆคนที่ได้พบเจอ โอกาสเรียนรู้จากคน เป็นของล้ำค่า เรื่องมีอยู่ว่า วันก่อนได้มีโอกาสพูดคุยกับกลุ่มผู้นำองค์กรแห่งหนึ่งและได้คุยกันถึงแนวทางในการช่วยให้พี่ๆน้องๆในองค์กรแห่งนี้ก้าวไปสู่เวทีโลก ความคิดต่างๆพร่างพรูและได้แผนงานสำหรับทดลองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเอาความสุขของคนในองค์กรเป็นที่ตั้ง เชื่อว่าในตลอดชีวิตของการทำงานหลายๆคนคงเคยได้ยิน ได้อ่านเรื่องราว เปรียบเปรยการทำงานโดยใช้กบเป็นตัวละครเพื่อให้เห็นภาพ เช่น อย่าเป็นกบอยู่ในกะลา คือ การทำงานที่อยู่ความคุ้นชินเดิมๆโดยที่ไม่ได้มองว่าโลกข้างนอกนั่นเค้าก้าวไปถึงไหนแล้ว ออกจากกะลาแล้วมาเปลี่ยนแปลงเพื่อตัวเองและคนรอบข้าง หนึ่งในบทสนทนากับนักคิดที่มีวิสัยทัศน์แบบหาคนจับยาก ซึ่งในแต่ละครั้งที่ท่านนึ้พูดมักใช้คำง่ายๆที่ใครๆก็เข้าถึงได้ ด้วยความที่ส่วนตัวคลุกคลีกับการปฏิรูปมากจนหลายครั้งหลงใช้ภาษาที่อาจจะยากสำหรับคนทั่วไป เลยไปปรึกษาท่านและเล่าไอเดียของแผนงาน และอยากหาคำง่ายๆที่ใครๆก็เข้าใจ ในวงสนทนานั้นเริ่มต้นอย่างสนุกสนาน ปราศจากความเครียดโดยสิ้นเชิง คำต่างๆเริ่มไหลๆมา ซึ่งล้วนแต่ดีๆทั้งนั้น ท่านผู้นี้บังเอิญเดินมา ได้การบ้านไป หาย 15 นาที กลับมาพร้อมกับคำว่า “กบฉีกกะลา” ใครชอบหรือเปล่าไม่รู้แต่ผมชอบมากเพราะว่าเห็นภาพชัดมาก เราคุยกันซักพัก และได้ลงความเห็นว่าอันนี้แหล่ะ ใช้เป็นชื่อเรียกปฏิบัติการนี้ เหตุที่มันดีเพราะว่า 1. กบที่จะฉีกกะลาได้นั้นต้องออกจากกะลาก่อน 2.…
ประสบการณ์มากกว่า 15 ที่เป็นทั้งส่วนหนึ่งที่ได้รับผบกระทบของการเปลี่ยนแปลง ในองค์กร และในฐานะที่เป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อน การเปลี่ยนแปลงในที่ต่างๆทำให้ตกผลึก ความคิดหลายๆอย่าง ซึ่งได้มีโอกาสถกกับพี่น้อง ทั้งที่เป็นคนทำงาน และคนที่เป็นซีอีโอ ประธานกรรมการ ในธุรกิจที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงิน โทรคมนาคม การเกษตร ธุรกิจขายปลีก และสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งในเวทีไทย และเวทีระดับโลก สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดมากๆจากการได้มีโอกาสคุยกับคนที่มีประสบการณ์จริง คือ การที่ยิ่งทำมาก กลับทำให้รู้น้อยลง และฟังเยอะขึ้น (ฟังจริงๆ) และทำให้โอกาสในการปฏิรูปองค์กรนั้นเป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วย การปฏิรูปในองค์กรต้องมีการสนับสนุนในระดับผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง ประสบการณ์ตรงในหลายๆโอกาสทำให้ได้รู้ว่าการปฏิรูปมักถูกพูดถึงมากในห้องประชุมของผู้บริหารระดับสูงเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น และบ่อยครั้งทุกอย่างก็กลับไปทำเหมือนเดิมในไม่กี่เดือน ดังนั้น ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่แค่ เปลี่ยนอย่างไร แต่หากหมายรวมถึง จะรักษาสภาวะใหม่ หรือที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมใหม่ได้อย่างไรด้วย และถ้าเรามองเรื่องวัฒนธรรม คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะหยิบคำยอดฮิตที่ บรรดานักปฏิรูป เอ่ยถึงเสมอ ทั้งที่เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง…
พักนี้มักได้ยินคนพูดถึงความยุติธรรม บ่นเรื่องความไม่เท่าเทียมกัน ทำไมคนนั้นได้อย่างนั้น ทำไมคนนั้นได้อย่างนี้ ทำไมๆๆ โดยส่วนตัวแล้วสิ่งหนึ่งที่จริงแท้และเที่ยงธรรมที่สุดในการเกิดมาเป็นสิ่งมีชีวิตคือ เราทุกคนต้องตาย นอกนั้น อย่าได้ถามหาความยุติธรรม สิ่งมีชีวิตหลายอย่างในโลกนี้เกิดมาพักเดียวก็ตายแล้ว ถ้าเราจะมองหาความยุติธรรม ในโลกนี้ มันก็คงไม่ยุติธรรม การที่คนหลายคนทำความดี เพื่อสังคม เค้าไม่ได้ทำเพื่อความยุติธรรม แต่เชื่อเถอะว่าเค้าทำเพื่ออะไรบางอย่าง บางอย่างนั้น อาจจะเป็นความสบายใจ ความสุขทางใจ และผมเชื่อเสมอว่า คนเรานั้นทำอะไร เพื่ออะไรบางอย่างอยู่แล้ว แล้วแต่ว่ามันคืดอะไร บางคนอาจจะอยากได้บางอย่างที่กฏของสังคม ไม่ยอมรับ ก็โดนสังคมประนาม หรือ ติดคุกติดตารางกันไป บางอย่างที่ไม่รุนแรงมาก อย่างมากก็โดยด่าว่า คนที่รวยกว่า ประสบความสำเร็จกว่า ก็เป็นเพียงแค่คนกลุ่มหนึ่งที่ทำบางอย่างให้คนกลุ่มหนึ่งมีมความสุขที่จะใช้สินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ มากกว่าก็เท่านั้นเอง
ภาพฝาผนังที่วิจิตรการ รถยนต์ดีไซล์ล้ำโฉบเฉี่ยว นวัตรกรรมต่างๆที่เรามีโอกาสได้สัมผัส หรือแม้แต่ คนโด่งดังมากมายในโลก ภาพวันที่เราเห็นนั้นดูสวนงาม น่ายกย่อง และ หลายคนก็อยากได้อยากมี อยากเป็น แต่จะมีซักกี่คนได้ลองมองไปลึกๆว่าคนเหล่านั้นต้องผ่านอะไรมาบ้าง การไขว่คว้าหาตัวอย่างเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะว่า การกระทำที่เป็นตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าล้านคำสอน หากแต่มุมมองความคิดที่แตกต่างนั้น แท้จริงแล้ว เราสามารถหาได้จากตัวเราเช่นกัน โดยส่วนตัวเชื่อว่า คนเรานั้นไม่มากก็น้อยมีอยู่สองมุม มุมที่เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยแสดงออก หรือ หลายคนบอกว่าเป็นเบื้องหลังของการกระทำของเรา สิ่งเหล่านี้ได้แก่ มุมมอง ความคิด ความมุ่งมั่น การวางแผน การตัดสินใจ หรือแม้แต่ จุดอ่อน จุดแข็ง ค่านิยม หรือคำจำกัดความของคำว่าประสบความสำเร็จของเรา และคงไม่แปลกเลยที่เบื้องลึกเหล่านี้ของเราจะแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา วุฒิภาวะ ประสบการณ์ที่ได้รับมา อีกมุมมองที่เรามีนอกจาก มุมมองเบื้องหลัง คือ เบื้องหน้าของเรา เบื้องหน้าของเรานั้น…
หนึ่งในสิ่งที่ง่ายที่สุด และยากที่สุดของคนคือการฟัง การฟัง คือ การได้ยิน และเอาไปคิด หลายคนสับสนว่าการช่วยเหลือผู้คนที่ดีที่สุดคือการเข้าไปช่วยเหลือเลย แต่หากความเป็นจริงคือ การโดดเข้าไปช่วยอาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้เรายัดเยียดสิ่งที่คนอื่นไม่ต้องการก็เป็นได้ ฉะนั้นความช่วยเหลือที่ดีทีสุดที่เราทำได้ ต่อผู้คนที่อยู่รอบตัวเรา บางครั้งอาจเป็นแค่ไปนั่งฟังเค้า และพยายามช่วยเค้าในสิ่งที่เค้าอยากทำ และ เงื่อนไขส่วนใหญ่ที่คนจะเริ่มไว้ใจให้เข้าไปช่วยเหลือคือ ต้องเก็บความลับได้ เป็นเรื่องส่วนตัว ให้ความช่วยเหลือได้อย่างมหัศจรรย์ ต้องยอมรับว่าส่วนตัวเคยพยายามช่วยเหลือคนอื่นด้วยความรู้สึกว่า เรารู้ดีกว่า ผ่านอะไรมามากกว่า แต่แท้จริงแล้ว การช่วยเหลือผู้คนที่ดีที่สุดคือค้นให้เจอว่าคนอื่นอยากได้อะไร และทำสิ่งที่ทำให้ความปราถนาลึกๆนั้นสำเร็จ วันนี้คุณได้หยุดพูด และ ได้ฟังคนอื่นจริงๆ หรือเปล่า?
One of the interesting observation when working with many team in my coaching career is how people would react to my questions about quality, product testing, A/B Testing, regression test, etc. We have done the unit testing, and we are…
Kent Beck, a founder of an extreme programming, as well as one of the founder of Agile Manifesto. He’s currently working at Facebook as a coach for programmer. One of the session I attended during Agile Singapore 2013 is “East…
One of the Agile Singapore Keynote that was well delivered by Jim McCarthy is around hacking the culture, where he talked about how to bring team to the next level of change, “Culture”. He introduces the nice open source protocol at liveingreatness.…
ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว และ คงไม่มีใครที่จะบอกได้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อที่เปลี่ยนแปลง แต่หากการปฎิรูปต่างๆ สิ่งที่เรามักเห็นคือ ต้องการให้ปรับเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ โดยส่วนตัว โดยธรรมชาติ และกลไกของคน มีสภาวะทีป้องกันตัวเองจากการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว แน่นอนที่หลายคนอาจมีความสามารถในการข่มใจให้ไปไม่ทำในสิ่งที่ยังไม่ได้ชอบนัก แต่คนส่วนใหญ่ยังรักที่จะเป็นอย่างที่ทำอยู่ เพราะฉะนั้น หากเราต้องการปฏิรูปอะไรซักอย่าง เราคงใช้หลักการที่ว่าถ้าไม่ทำถือว่าไม่ได้คงไม่ใช่ แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปในทิศทางที่สำคัญต่างหากที่จำเป็น และความสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ต้องทำ ทำทีละเล็กทีละน้อย มาถึงวันหนึ่ง โดยที่เราไม่รู้ตัว อาจจะพบว่าเรากลายเป็นอีกคนที่มีความสามารถทำอะไรที่เราไม่เคยทำก็เป็นได้ เปรียบเสมือนการวิ่งมาราธอน หลายคนคงเคยได้ยินว่าใครที่ไม่ซ้อมถ้าวิ่งอาจตายได้ เช่นกันครับการปฏิรูปไม่ว่าอะไรก็ตาม อาจไม่ทำให้เราตาย แต่อาจจะทำให้เราตายทั้งเป็นเพราะว่าเราอาจจะปฎิรูปอีกไม่ได้เลย เพราะว่าสมองเราถูกฝังว่าเกลียดการปฎิรูปไปเลยก็เป็นได้