ฝาแฝดที่หลายคนมองข้าม (Innovation & Change are twins)

innovation_change

ประสบการณ์มากกว่า 15 ที่เป็นทั้งส่วนหนึ่งที่ได้รับผบกระทบของการเปลี่ยนแปลง ในองค์กร และในฐานะที่เป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อน การเปลี่ยนแปลงในที่ต่างๆทำให้ตกผลึก ความคิดหลายๆอย่าง ซึ่งได้มีโอกาสถกกับพี่น้อง ทั้งที่เป็นคนทำงาน และคนที่เป็นซีอีโอ ประธานกรรมการ ในธุรกิจที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงิน โทรคมนาคม การเกษตร ธุรกิจขายปลีก และสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งในเวทีไทย และเวทีระดับโลก

สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดมากๆจากการได้มีโอกาสคุยกับคนที่มีประสบการณ์จริง คือ การที่ยิ่งทำมาก กลับทำให้รู้น้อยลง และฟังเยอะขึ้น (ฟังจริงๆ) และทำให้โอกาสในการปฏิรูปองค์กรนั้นเป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วย

การปฏิรูปในองค์กรต้องมีการสนับสนุนในระดับผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง ประสบการณ์ตรงในหลายๆโอกาสทำให้ได้รู้ว่าการปฏิรูปมักถูกพูดถึงมากในห้องประชุมของผู้บริหารระดับสูงเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น และบ่อยครั้งทุกอย่างก็กลับไปทำเหมือนเดิมในไม่กี่เดือน

ดังนั้น ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่แค่ เปลี่ยนอย่างไร แต่หากหมายรวมถึง จะรักษาสภาวะใหม่ หรือที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมใหม่ได้อย่างไรด้วย

และถ้าเรามองเรื่องวัฒนธรรม คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะหยิบคำยอดฮิตที่ บรรดานักปฏิรูป เอ่ยถึงเสมอ ทั้งที่เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง (ซึ่งส่วนตัวเคยเข้าใจแบบผิวเผินเช่นกัน)

Innovation ใน wikipedia ได้ให้ความหมายไว้ว่า

นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติการเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

โดยส่วนตัวมองเรื่อง นวัตกรรม เป็นกลยุทธที่ผู้บริหารต้องเข้าใจ เพื่อจะนำไปปฏิบัติได้อย่างเกิดผลสูงสุด โดยสรุปมีทั้งหมด 3 รูปแบบ

  1. นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) หนึ่งในนวัตกรรมที่หลายๆองค์มักมองข้ามคือการพัฒนาวิธีการทำงานที่มีอยู่ให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวณการในการตัดสินใจ หรือ วิธีการทำให้การออกสินค้านั้นง่ายขึ้น
  2. นวัตกรรมแบบ วิวัฒนาการ (Evolutionary) นวัตกรรมแบบนี้มักพูดถึงการมองหารูปแบบสินค้าแบบใหม่ ที่ดีกว่าเดิม เช่น การที่ Apple ออก iPhone ครั้งแรกที่ผนวกการฟังเพลงเข้าการสื่อสาร ในปี 2004 ไม่ใช่ของใหม่โดยสิ้นเชิงแต่หากเป็นพัฒนาการที่ก้าวล้ำ Apple ได้ลองและเกิดผลอย่างสูง ส่วนใหญ่นวัตกรรมแบบนี้มักเป็นผลลัพธ์ชัดเจนในผลประกอบการขององค์กร
  3. นวัตกรรมแบบเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง (Revolutionary) นวัตกรรมแบบนี้เป็นแบบก้าวกระโดด คือแทบไม่มีเค้าโครงของเดิมเหลืออยู่เลย เช่น บางบริษัทอาจเคยเป็นบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ แต่ผันตัวเองไม่อยู่ในธุรกิจยานยนต์ หรือแม้แต่การเปลี่ยน ค่านิยม ที่ไม่เคยทำมาก่อน การเปลี่ยนแปลงในระดับนี้นั้นส่วนใหญ่นั้นสร้างความตระหนกตกใจให้กับคนในองค์กรเป็นอย่างมาก แต่ว่าถ้าทำได้องค์กรจะเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ

ดังนั้นหากองค์กรได้ต้องการที่จะนวัตกรรมใหม่ การปฏิรูป หรือการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย เพราะว่าไม่มีองค์กรที่ประสบความสำเร็จใดๆที่ไม่มีนวัตกรรม และไม่มีนวัตกรรมใดๆที่ไม่มีการปฏิรูปหรือการเปลี่ยนแปลง

 

 

Tagged with: ,
Posted in Agile, Coaching, Leadership, transformation
One comment on “ฝาแฝดที่หลายคนมองข้าม (Innovation & Change are twins)
  1. kapongpang says:

    Reblogged this on Watcharapong Wongviwat and commented:
    ความเหมือนที่แตกต่าง

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: