Blog Archives

ฝาแฝดที่หลายคนมองข้าม (Innovation & Change are twins)

ประสบการณ์มากกว่า 15 ที่เป็นทั้งส่วนหนึ่งที่ได้รับผบกระทบของการเปลี่ยนแปลง ในองค์กร และในฐานะที่เป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อน การเปลี่ยนแปลงในที่ต่างๆทำให้ตกผลึก ความคิดหลายๆอย่าง ซึ่งได้มีโอกาสถกกับพี่น้อง ทั้งที่เป็นคนทำงาน และคนที่เป็นซีอีโอ ประธานกรรมการ ในธุรกิจที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงิน โทรคมนาคม การเกษตร ธุรกิจขายปลีก และสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งในเวทีไทย และเวทีระดับโลก สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดมากๆจากการได้มีโอกาสคุยกับคนที่มีประสบการณ์จริง คือ การที่ยิ่งทำมาก กลับทำให้รู้น้อยลง และฟังเยอะขึ้น (ฟังจริงๆ) และทำให้โอกาสในการปฏิรูปองค์กรนั้นเป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วย การปฏิรูปในองค์กรต้องมีการสนับสนุนในระดับผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง ประสบการณ์ตรงในหลายๆโอกาสทำให้ได้รู้ว่าการปฏิรูปมักถูกพูดถึงมากในห้องประชุมของผู้บริหารระดับสูงเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น และบ่อยครั้งทุกอย่างก็กลับไปทำเหมือนเดิมในไม่กี่เดือน ดังนั้น ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่แค่ เปลี่ยนอย่างไร แต่หากหมายรวมถึง จะรักษาสภาวะใหม่ หรือที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมใหม่ได้อย่างไรด้วย และถ้าเรามองเรื่องวัฒนธรรม คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะหยิบคำยอดฮิตที่ บรรดานักปฏิรูป เอ่ยถึงเสมอ ทั้งที่เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง

Tagged with: ,
Posted in Agile, Coaching, Leadership, transformation

How to have sense of humor?

We all know that we want to be with the people who is fun to be with. The sense of humor is sometimes the talent that somebody posses as part of their nature. If you are such a person, I

Tagged with: ,
Posted in Coaching, Social

คนที่เปลี่ยนยากนั้นมีประโยชน์

การเริ่มก่อนไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จ หลายต่อหลายครั้งที่เรามักเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงในองค์กรจะมีคนหลากหลายกลุ่มที่มีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อทิศทางองค์กรที่ต่างกัน คนกลุ่มแรกที่เรามักเห็นได้บ่อยและชัดคือกลุ่มที่ตื่นเต้นและคอยที่จะทำตามทุกอย่างโดยง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งหลายต่อหลายครั้งคนกลุ่มนี้ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะว่าตื่นเต้นเพราะว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นของใหม่ และพอเห็นหมดก็เบื่อและอยากได้สิ่งใหม่เรื่อย ในทุกๆการเปลี่ยนแปลงจะมีคนกลุ่มนี้เสมอ แต่น่าเสียดายคือไม่ชอบที่จะดึงคนอื่นมาด้วยเพราะว่าไม่ได้เข้าใจข้อดี ข้อเสียอย่างแท้จริง คนกลุ่มที่สองคือคนที่เหมือนคนกลุ่มแรกแต่เป็นคนที่ตั้งตัวเป็นสาวกและพร้อมที่จะป่าวประกาศและคอนดึงเพื่อนร่วมงานมาด้วยคนกลุ่มนี้คือพวกที่อาจไม่ได้ตื่นเต้นมากแต่ใช้เวลาศึกษาลองผิดลองถูกจนเข้าใจระดับนึงและอยากหาคนทำด้วย คนกลุ่มที่สามคือคนที่ไม่ได้อยากจะเปลี่ยนแต่พอคนปริมาณมากขึ้นเริ่มทำคนกลุ่มนี้ก็จะทำตามและใช้กระบวณการที่เกิดจากการเปลียนแปลงในการเปลียนแปลงตัวเอง นี่คือคนกลุ่มใหญ่ขององค์กร คนกลุ่มประเภทสุดท้ายคือกลุ่มคนที่ หัวเด็ดตีนขาดยังไงก็ไม่ไป และพยายามหาเหตุผลมาหักล้างทุกอย่าง และถึงแม้ว่าทุกอย่างจะดูมีเหตุผลไปหมด ก็ยังเชื่อในความรู้สึกของตนเอง คนกลุ่มนี้บางคนสุดท้ายก็ออกจากองค์กรไปเพื่อไปหาสถานที่ที่ตอบโจทย์ของตัวเอง แต่หากคนกลุ่มนี้อยู่ต่อเค้าก็จะเป็นเสมือนคนที่คอยให้ความมั่นใจกับคนที่เปลี่ยนแปลงแล้วให้รู้ว่าเค้าทำในสิ่งที่ถูกแล้ว คนกลุ่มนี้มักใช้เวลานานมากและเมื่อถึงเวลาที่เค้าเปลี่ยน เค้าจะยึดกับสิ่งที่เค้าเปลี่ยนแบบมั่นคง คนกลุ่มสุดท้าย เป็นกลุ่มที่คนมักเข้าใจว่าเค้าเป็นคนขวางโลก ขวางความเจริญขององค์กร แต่เชื่อหรือไม่ว่าคนกลุ่มนี้แหล่ะเป็นกลุ่มคนที่สำคัญมากที่องค์กรต้องมีเพราะว่าคนเหล่านี้จะมีจุดยืนบางอย่างที่หาคนเข้าใจยากเป็นคนกลุ่มน้อยที่เราต้องรักษาไว้ในองค์เพื่อให้เค้าช่วยเตือนเราว่าไม่ใช่ว่าทุกๆแนวทางใหม่ๆจะเป็นแนวทางที่ดีเสมอไป และถ้าคนกลุ่มนี้หาจับจุดผิดได้ อาจทำให้ทุกคนเข้าใจในสิ่งที่เราไม่เข้าใจมากขึ้น ไม่ว่าเราจะอยู่ในกลุ่มไหนขอให้เราระลึกเสมอว่าเราทุกคนเป็นเหมือนจิกซอว์ทีสำคัญที่จะทำให้ทุกๆการเปลี่ยนแปลงนั้นมีความหมายและเหมาะกับองค์กรเรามากที่สุด

Tagged with: ,
Posted in Agile, Coaching, transformation

สถาปัตยกรรมหอคอยงาช้าง (Ivory Tower Architecture)

หากย้อนกลับไปซักสิบปีที่แล้วประเทศไทยคงยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับบทบาทของ สถาปนิกคอมพิวเตอร์ ซักเท่าไหร่ เพราะว่าคนไทยในประเทศยังไม่ค่อยมีใครเป็นสถาปนิกอย่างแท้จริง แต่ในสิบปีให้หลังเราคงเริ่มได้เห็นบทบาทของสถาปนิกในแวดวงไอทีมากขึ้น จากบทบาทดังกล่าวทำให้เราได้เห็น สถาปัตยกรรมในองค์กรสองแบบที่ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างชัดเจน ประเภทแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่เน้นไปในรูปแบบนามอธรรม และสามารถใช้กับ แพลตฟอร์มอะไรก็ได้ และไม่ค่อยลงรายละเอียดเกี่ยวกับความซับซ้อน หรือ รายละเอียดของฮาร์ดแวร์ เน็ตเวิร์ค อิเล็คตรอน โปรตรอน จุดเด่นที่สุดขั้วของสถาปัตยกรรมนี้ทำให้เรารู้จักกันดีในนามว่า “สถาปัตยกรรมหอคอยงาช้าง (Ivory Tower Architecture)”  รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบดังกล่าวมักมาเป็นรูปแบบที่นักพัฒนาเอาไปสานต่อได้ค่อนข้างยาก (บางคนถึงกับบ่นว่า ฝันเฟื่อง ไร้สาระ) ตัวอย่างเช่น ต้องใช้  EJB Container-managed persistence หรือแม้แต่บังคับนักพัฒนาว่า ต้องใช้ JSF ในการทำ  UI เท่านั้น หรือสำหรับองค์กรที่รัก หรือมีสัญญาผูกกับ Oracle มักจะบังคับนักพัฒนาทุกทีมว่า

Tagged with: ,
Posted in Agile, Architecture, Coaching

You are allowed to say “NO”

Can do attitude I strongly believe in the people that having a “can do” attitude will eventually bring people to “somewhere” (fill in the blank). However, this “can do” attitude is often misinterpreted to be saying “Yes” to every opportunities

Tagged with: ,
Posted in Coaching

กลุ่มคนทำงาน กับ ทีมงาน สองสิ่งที่แตกต่าง

ผมเชื่อเราเคยเป็นหนึ่งในคนทำงานที่เข้าใจว่าการที่คนมาอยู่รวมกลุ่มกัน ทำอะไรร่วมกันซักอย่างเพื่อองค์กร หรือเพื่อวัตถุประสงค์ เป็นการทำงานที่เรียกว่า  “ทีม” แต่จากประสบการณ์ตรงและจากผู้ไหญ่ที่เราได้มีโอกาสทำงานด้วยทำให้ผมเองเปลี่ยนมุมมอง ว่าทำไมบางครั้งเราถึงมีความรู้สึกดีลึกๆในการที่ได้อยู่ร่วมทีมหนึ่งมากกว่าอีกทีมหนึ่ง มองย้อนกลับไปทำเรารู้ว่าแท้จริงแล้วเราได้รับเกียรติให้เป็นส่วนหนึ่งของทีมเพียงบางทีมเท่านั้น นั่งใคร่ครวญว่า อะไรน่าจะเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำงานเป็นทีมที่แท้จริง และเราจะช่วยให้เราเป็นทีมได้อย่างไร 1. ทีมงานที่ทำงานร่วมกันต้องมีข้อตกลงที่ลงลึกถึงความรากเหง้าของความรู้สึกร่วมกัน เราหลายคนอาจเคยทำงานในทีมที่ มักเรียกตัวเองว่ามืออาชีพ แต่มักปล่อยให้เพื่อนร่วมงานคาดเดาว่าข้อตกลงในการทำงานขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน พอมีปัญหาก็อ้างว่าคนนั้นคนนี้ ไม่มืออาชีพ ตัวอย่างข้อตกลงง่ายก็คือ ทีมเราจะเริ่มทำงานร่วมกันเวลาไหน หลายคนอาจบอกว่าทำไมไม่ทำตามกฏและข้อตกลงทางสังคม หรือมาตรฐานขององค์กร จากประสบการณ์ตรงเวลาที่ดีที่สุดของแต่ละทีมไม่เหมือนกัน และหลายครั้งองค์กรก็ยืดหยุ่นมากพอถ้าเป็นข้อตกลงของทีมที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อองค์กรจนมากเกินไป หากข้อตกลงนั้นทำให้ทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. ทีมงานต้องอินกับเป้าหมายร่วมกัน ส่วนหนึ่งของเป้าหมายอาจจะมาจากองค์กร ธุรกิจ สาระสำคัญคือการมองเห็นภาพชัดเจนว่าทีมเรากำลังจะไปทางไหน ผู้นำในทีมเป็นส่วนสำคัญในการที่จะสามารถวาดภาพในหัวของทุกคนให้มีภาพเดียวกันได้ มีซีอีโอท่านหนึ่งเคยบอกผมว่า ถ้าเราบอกให้ทุกคนวาดช้าง ช้างของแต่ละคนอาจมีลักษณะคล้ายกัน สีแตกต่างกัน จะดีกว่ามั้ยถ้าเราจะสามารถวาดช้างให้ทีมเห็น ทีมจะได้ไม่ต้องเดาว่าช้างที่ว่าจะเป็นเช่นไร 3. ทีมที่แข็งเรงคือทีมที่ทะเลาะกันซึ่งๆหน้า การนินทาลับหลัง

Tagged with: ,
Posted in Agile, Business, Coaching

เราทำให้ทุกคนรักเราไม่ได้ (We can’t make everybody love us)

คนดีมากมายในสังคมก็ยังมีคนที่ไม่ขอบได้ เหตุผมง่ายๆ เพราะว่าเราเกิดมาแตกต่างกัน มีความสนใจที่ไม่เหมือนกัน บุคลิกภาพที่หลากหลาย มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้ทุกคนที่รู้จักเรามารักเรา ถ้าหากว่าเป้าหมายชีวิตของเราคือการทำให้ทุกคนชอบเรา ชีวิตนี้คงมีแต่ความทุกทรมานและผิดหวังซ้ำๆซากๆ สิ่งที่เราน่าจะทำได้คือเป็นคนที่ใส่ใจรายละเอียดในทุกการพบปะ สังสรรค์ ทำงาน เค้าเหล่านั้นอาจจะไม่ได้ขอบเราในทันที แต่มันคงเป็นการยากเหมือนกันที่เค้าจะเกลียดเรา เราสามารถที่จะกระชับความสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยการเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด คุณลักษณะที่สำคัญที่เราต้องยืดถือเสมอคือ ความซื้อสัตย์ ครงไปตรงมา และมีจริยธรรม และเมื่อเรามีชีวิตดังกล่าว อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่มีค่านิยมเหมือนกับเรา แต่เราจะได้รับความนับถือในค่านิยมของเรา และสุดท้าย การที่เรามีความเคารพต่อตัวเองนั้นมีค่ามากกว่าความนิยมที่เราได้จากคนอื่นมายมาย อย่างไม่ต้องสงสัย Even the most popular people have their detractors. Because we are all different, with differing interests and

Tagged with: ,
Posted in Coaching