ปัจจัยอย่างหนึ่งของการสร้างสินค้าที่เอาชนะใจคนได้นั้น คือการตัดสินใจว่าสินค้าเราควรจะมี ลักษณะการทำงานอย่างไร ควรเพิ่มอะไรมั้ย วิธีการง่ายๆที่ส่วนตัวเคยสัมผัส สังเกตุ ที่น่าจะพอมีประโยชน์สำหรับคนที่กำลังคิดว่าเราน่าจะไปทางไหน
โยนเหรียญหัวก้อย
ข้อดีของการโยนหัวก้อยคือ เร็ว แต่โอกาสที่จะถูกนั้นมีเพียงแค่ 50% เท่านั้น
ไปตามสัญชาติญาณ
อันนี้ฝรั่งเค้าเรียกว่าตัดสินใจตาม Gut Feeling ข้อดีคือเร็ว และคุณอาจกลายเป็น สตีฟ จ๊อบ คนถัดไป ถ้าสัญชาติญาณของคุณถูกมากกว่า 80 % ข้อเสียคือ ไม่สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจว่าทำไม และ ถ้าหากเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ทุกๆนิ้วมือ นิวเท้าของเพื่อนเราจะพุ่งเป้ามาที่เรา
ประชาธิปไตย โหวตเอา
อันนี้หลายคนชอบและมักใช้เสมอ ข้อดีของมันคือได้ใจทีมดี และได้เข้าใจความคิดเห็นและความเชี่ยวชาญของคนในทีม แต่ข้อเสียคือ หลายครั้งการเมืองในทีมก็ทำให้การตัดสินลากยาว จนบางครั้งไม่ได้ตัดสินใจ (ส่วนมากเห็นบ่อย) และข้อเสียที่หลายคนอาจนึกไม่ถึงคือ บางครั้งการคิดกันเป็นกลุ่มก็มองข้ามเหตุผลไปเหมือนกัน หรือไม่จริง พวกมากลากไป?
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
วิธีนี้เป็นวิธีที่นักการตลาดหลายคนชอบ ข้อดีคือมีโอกาสได้สัมผัสกับถึงความรู้สึกของผู้ใช้งานของเรา การที่เราใช้เวลาเพื่อสังเกตุพฤติกรรมจะทำให้เราเห็นปัญหา หรือแม้กระทั่งโอกาสที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน หลายคนใช้วิธีอัดวิดีโอเวลาคนมาใช้สินค้าของเรา และมันก็เป็นหลักฐานชั้นดีเยี่ยมเพื่อให้ทีมเข้าใจผู้ใช้งานจริงมากขึ้น ข้อเสีย ที่เห็นได้ชัดก็คือ กลุ่มของคนที่เราไปสัมผัสอาจไม่ได้เป็นกระบอกเสียงที่แท้จริงของผู้ใช้งานทั้งหมด และ
แบบสำรวจ (Survey)
อันนี้โดยส่วนตัวไม่ชอบ เพราะว่าเคยเจอแบบสำรวจแบบต้องทำกัน เป็นชั่วโมงมึนกันพอดี ข้อดีของวิธีนี้คือ มีโอกาสเข้าถึงความเข้าใจของคนหมู่มาก และใช้เวลาไม่นานนักเมื่อเทียบกับ การวิจัยเชิงคุณภาพ แต่ข้อเสียที่พอเห็นได้คือคนที่ทำแบบสำรวจมักไม่ได้คิดถึงเวลาที่ใช้งานสินค้าจริง และคนหลายคนที่เป็นพวกขึ้สงสัยอาจรู้สึกไม่เข้าใจว่าแบบสำรวจเราทำไปเพื่ออะไร
A/B Testing (พยายามแปลเป็นไทยว่า ลองของจริงหลายๆแบบ กับกลุ่มคนที่ใช้งานจริง แล้วเก็บเป็นสถิติ)
หลักฐานทางสถิติจะทำให้เราเห็นถึงแต่ละอย่างที่เราทำเพิ่มว่าถูกใจลูกค้ามากแค่ไหน ส่วนใหญ่ที่เห็นบ่อยคือ ถ้า Confidence Level (คนชอบ หรือว่าคลิก กดบ่อย) มากกว่า 90% ถึงจะทำของนั้นออกสู่ตลาด การเก็บข้อมูลนี้แหล่ะที่จะเปิดตาของเราให้เห็นชัดขึ้น และส่วนใหญ่ผู้บริหารมักเห็นด้วยกับผลลัพธ์อย่างไม่มีเงื่อนไข (ก็แหง ตัวเลขเห็นๆกันอยู่) ข้อเสียของวิธีนี้คือต้องเขียนโคดนานขึ้นและต้องประสานงานกับฝ่ายการตลาดให้ดีมากๆ และพอเวลาเราเริ่มทำมักใช้เวลาหลายอาทิตย์กว่าที่จะได้ข้อมูลเพียงพอเพื่อใช้วิเคราะห์ ข้อเสียอีกอย่างคือ เราไม่สามารถทดลองได้หลายๆโมเดลได้
Leave a Reply