Product Owner ไม่จำเป็นต้องเป็นพหูสูจน์

sequel-automation-orchestration-blog-header

ในโลกของ Agile เราแบ่งคนทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม

Product Owner บทบาทหน้าที่เป็นคนที่เขียน Requirement แบบ User Stories เพื่อส่งให้ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าโดยมี Agile Coach หรือ Scrum Master ช่วยเร่งฟิตแบครูปให้เร็วขึ้นเพื่อจะได้รู้ว่าใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการหรือไม่แล้ววนกลับมาทำต่อจนได้สิ่งที่เกิดประโยชน์ให้กับลูกค้าสูงสุดหรือสำหรับคนใช้งานระบบจริงๆ
คำถามพร้อมทั้งคำบ่นของทีมงานที่มักได้ยินบ่อยก็คือว่าทำไม Product Ower ถึงไม่รู้อะไรรายละเอียดของเรื่องนี้เลยหรือส่วนนี้ของ product แล้วเราจะทำหรือยังไง

ก่อนที่เราจะตอบคำถามเหล่านี้ขอให้เราทำความเข้าใจก่อนว่า Product Owner นั้นมีงานที่ยากอยู่แล้ว ส่วนหนึ่งของงานที่เราต้องทำคือจะต้องเข้าใจว่าลูกค้าเป็นใครผู้ใช้เป็นใครและตลาดที่เขากำลังทำโปรดักให้นั้น ทิศทางเป็นอย่างไร แล้วไหนจะยังต้องเป็นตัวกลางระหว่างทีมภายในทีมภายนอกความต้องการที่แตกต่างซึ่งงานของ product owner นี้เนี่ยก็ไม่ต่างจากมินิซีโอจริงๆ

ความคาดหวังที่อยากได้ Product Owner รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับทุกอย่างนั้นไม่ใช่คำตอบ Product Owner ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นแหล่งความรู้ของทุกทุกอย่างในโลก นี้หรือของ product นี้ แต่หลายหลายทีมมักเข้าใจผิดว่า product owner ต้องเป็นอย่างนั้น

ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังจะสร้างระบบอีคอมเมิร์ซที่จะต้องแสดงผลเกี่ยวกับรายงานการเงินบุคคลที่ควรที่จะไปถามคือฝ่ายการเงินที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับฟีเจอร์นั้น

หน้าที่ของ product โอนเนอร์คือตัดสินใจว่าฟีเจอร์นั้นเป็นสิ่งที่ควรจะทำณเวลานี้หรือไม่ หรือถ้าไม่ใช่เวลานี้ ควรจะทำเวลาไหน

Product  Owner ไม่จำเป็นและไม่มีภาระหน้าที่ที่จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับทางด้านการเงินเลย แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องรู้อะไรเลยเกี่ยวกับ Area นั้นของ product

Product Owner จะต้องรู้ว่าควรให้ทีมงานไปคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้นกับใคร

ถ้าเปรียบเปรย product owner ก็เหมือนกับนายกบ้านเรานี่แหละนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่ฉลาดที่สุดในห้องในทุกๆเรื่อง

ด้วยความซับซ้อนของการบริหารประเทศมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่นายกรัฐมนตรีจะรู้ว่าจะต้องทำอะไรในเรื่องทุกๆอย่างแต่สิ่งที่นายกจะต้องรู้คือนายกควรจะฟังใคร

สิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรจะต้องทำเมื่อเกิดภาวะสงครามก็คือ “โอเครัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมท่านคิดอย่างไร” ส่วนเรื่องรายละเอียดของการจัดการเนี่ยก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

แต่สิ่งที่นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบก็คือว่าถ้าเกิดความเสียหายหรืออะไรเกิดขึ้นนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวไม่ใช่แค่บอกว่า ให้ไปถามรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม

เช่นเดียวกับการสร้าง product owner เนี่ยแหละ ความรับผิดชอบก็ตกอยู่ที่ product owner

ดังนั้น product โอนเนอร์ไม่ได้เป็นแหล่งของความรู้สำหรับทุกๆส่วนของ product แต่ product โอนเนอร์ที่ดีนั้นจะต้องเป็นคนที่รับฟังและรู้ว่าจะมอบหมายงานเหล่านี้ให้กับใครคนใดที่เป็นผู้เชี่ยวชาญดังนั้นแหละแบบนี้ถึงจะสำเร็จได้ในโลกของ Agile

Posted in Agile, Product Owner

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: