สิ่งที่เรียนรู้จากงาน อไจล์สิงคโปร์ จาก Architecture of Uncertainty, Kevlin Henney พอจับใจความได้คร่าวๆคือ
- เริ่มออกแบบจากสิ่งที่ยากที่สุด หลายต่อหลายครั้งเรามักไปทำส่วนที่ง่ายที่สุด แล้วค่อยย้อนไปมองส่วนที่ยากที่สุด แต่ในมมของ Kevlin คือ ต้องสร้างสถาปัตย์เหมือนกับการสร้างบ้าน คือคิดในส่วนที่เป็นรากฐานของบ้านให้ดี แล้วค่อยไปโครงสร้างชั้นถัดไป
- ทุกคนที่มีส่วน ไม่ว่าจะเป็นคนสร้างโคด หรือ แม้แต่คนที่มีอิทธิพลต่อโครงสร้างไม่ว่าทางใด ทางหนึ่่งเป็นนักสถาปัตยกรรมหมด ตำแหน่งหรือว่าคนเป็นแค่ตัวแทนของคนที่รวบรวมเพื่อให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกัน
- การสร้างสถาปัตยกรรมเหมือนกับปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า Big bang ตอนเริ่มต้น เริ่มจากเล็กๆมากแต่พอขยายมันกลายโลกอย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ เช่นเดียวกับการเขียนโคด วันแรกเราอาจไม่ได้คิดอะไร แต่เราอาจกำลังสร้างกับดักให้กับตัวเองในอีกสิบปีถัดไป
- การทำสถาปัตยกรรมแบบที่เรารู้จักกันดี คือ วิเคราะห์ ออกแบบ เขียนโคด และ ทดสอบ ใช้ไม่ได้กับซอฟ์ตแวร์ (แต่อาจใช้ได้กับกลุ่มงานกลุ่มอื่นได้) และมีหลายคนมักโต้แย้งว่า ถ้าหากว่าเรา สามารถที่จะทำให้ทุกอย่างนิ่งได้ เราน่าจะใช้วิธีการดังกล่าวได้ แต่คนสอนบอกว่า ถึงแม้ว่าเราจะทำให้ทุกอย่างนิ่งได้ แต่ยังมีอีกหนึ่งปัจจัย คือตัวเราเอง นั้นไม่นิ่ง สิ่งที่เราเคยคิด ณ จุดหนึ่ง มักเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา
- ความเชียวชาญของนักสถาปัตยกรรมไม่ใช้ในระดับองค์ความรู้แต่หากเป็น ระดับในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เช่น หนังเรื่องเดิม หากเราดูซ้ำๆหลายๆรอบ แต่ละรอบเราจะได้ความรู้ หรือข้อมูลที่แตกต่างกัน ฉะนั้นคนที่เป็น ในระดับผู้เชียวชาญ จะตั้งคำถามที่แตกต่างจาก ระดับเริ่มต้นเสมอ
- การออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดีไม่ใช่การทำให้สมบูรณ์แบบ แต่หากเป็นการออกแบบให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมของเราให้ง่ายที่สุดด้วย
- สถาปัตยกรรมที่ดีต้องสร้างโคด แล้วทดสอบได้ทันที ไม่ใช่รอ หรือว่าทำใน power point/ key note
- ไม่มีสถาปัตยกรรมที่ สามารถรองรับได้ทุกสิ่ง General Purpose Architecture never exist!
อยากรู้เพิ่มเติมดูเพิ่มได้ที่ 97 things every architect should know
Leave a Reply